11/08/2550

ที่มาของการขับร้อง

ที่มาของการขับร้อง
* บทร้องจากวรรณคดี คัดมาจากวรรณคดี นำมาเฉพาะตอนที่มีความหมายดี ลักษณะการประพันธ์ถูก มีโวหารดี
* จากการประพันธ์เพื่อขับร้อง ประพันธ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน หรือเพื่อสอดแทรกคติ ส่วนใหญ่จะบรรยายความงามของธรรมชาติ ความงามของผู้หญิง คติและสุภาษิต
รูปแบบการขับร้องเพลงไทย
* การขับร้องเคร้าดนตรี คือการขับร้องที่ผู้ร้อง ร้องไปทางผู้ร้อง ดนตรีบรรเลงไปทางดนตรี การขับร้องกับดนตรีจะไปกันคนละทาง
* การขับร้องคลอดนตรี คือการขับร้องที่ผู้ร้อง ร้องพร้อมดนตรี ดนตรีจะบรรเลงไปพร้อมกับผู้ร้อง หรือ ดนตรีจะบรรเลงปรับแนวให้เข้ากับการร้อง
* การขับร้องให้ดนตรีรับส่ง คือผู้ร้องจะร้องก่อน พอร้องจบท่อนดนตรีจะรับสลับกันไปทุกท่อน
หลักในการขับร้องเพลงไทย
หลักในการขับร้องเพลงไทย เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะฝึกหัดรับร้องเพลงไทย หรือผู้ที่จะเป็นนักร้อง เพราะการที่จะเป็นนักร้องที่ดีนี้นมีใช่เกิดจากผู้ร้องนั้นมีเสียงไพเราะ หรือที่เรียกกันว่าเสียงดีเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องยึดหลักในการขับร้องดังนี้
* เนื้อเพลง คือทำนองที่เปล่งออกมาเป็นเสัยงสูง ต้ำ ไปตามลีลาของเพลง สามารถฟังออกว่า เป็นทำนองเพลงอะไร เช่น ลาวดวงเดือน ลาวเจริญศรี เป็นต้น จะต้องรักษาไว้ให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ จะขาดหรือเกินไม่ได้
* ทำนอง หมายถึงวิธีตบแต่งบทเพลง หรือการทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ แต่ให้ถูกต้องกับลีลาการประพันธ์ของทำนองเพลงในแต่ละเพลง
* เสียง นอกจากจะมีเสียงที่ไพเราะแล้ว ผู้ขับร้องยังต้องรักษาระดับเสียงให้คงที่ เข้ากับเสียงดนตรีได้เหมาะสม โดยไม่เพี้ยนหรือร้องไม่ตรงกับเสียงของดนตรี
* ถ้อยคำและการแบ่งวรรคตอนในการร้องเพลงนั้น ผู้ขับร้องที่ดีจะต้องระมัดระวังในเรื่องการออกเสียงตามถ้อยคำที่เป็นเนื้อร้องให้ชัดเจน เช่น การออกเสียง ร ล คำควบกล้ำ ให้ถูกต้องชัดเจน และการแบ่งวรรคตอนที่เป็นคำประพันธ์ประเภทต่างๆ
* จังหวะ ผู้ขับร้องจะต้องระวังรักษาจังหวะให้ถูกต้องสม่ำเสมอ สามารถรู้ได้ว่าร้องตอนใด ลงจังหวะฉิ่ง หรือฉับ หรือร้องคร่อมจังหวะ
* การหายใจ ผู้ขับร้องจะต้องหายใจให้ตรงจังหวะ และรู้จักผ่อน และถอนลมหายใจให้ถูกต้อง
ถ้าหายใจผิดที่นะทำให้เสียง หรือทำนองที่ควรจะติดต่อกันขาดหายไป หรือห้วนไป ทำให้เพลงขาดความไพเราะนุ่มนวล