11/09/2550

สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) คืออะไร

สุนทรียศาสตร์


มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้ว จึงแปลได้ว่า

" วิชาที่ว่า ด้วยสิ่งสวยงาม "

ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์ คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป
อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้

  • ประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • ศิลปวิจารณ์
  • ทฤษฎีศิลปะ
  • จิตวิทยาศิลปะ
  • สังคมวิทยาศิลปะ
  • ปรัชญาศิลปะ

สุนทรียศาสตร์ (Aestheties) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงามในเชิงทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา “ทฤษฎีแห่งความงาน” (Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of taste)คำว่า “สุนทรียศาสตร์” มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า“สุนทรียะ” แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 – 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสนุทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเองเนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นว่าด้วยคามคิดรวบยอดเรื่องความงาม


การที่จะนิยามว่าความงามคืออะไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของสุนทรียศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ว่าความงามคืออะไรนั้นนักศิลป์ทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก แต่เขาจะพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างความงามขึ้นด้วยศิลปะของเขา ซึ่งความสนใจดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสัญชาติญาณของศิลป จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือความพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการขั้นมูลฐานของพฤติกรรมเกี่ยวกับศิลปะ


ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงเริ่มเรื่องด้วยการพิจารณาเรื่องการสร้างสรรค์ศิลปะและความสนใจในศิลปะ คำตอบจากปัญหานี้ก็ได้จากการพยายามค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง ความหมายของความงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์ในปัจจุบันสุนทรียศาสตร์มีความหมายที่มีขอบเขตอิสระมากขึ้น ความหมายของคำนี้ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่าง ๆ หลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฎการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย


สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญคือ


มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจจึงนับว่ามีประโยชน์ เช่นส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล ช่วยกล่อมเกลาให้เนผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุมีผล เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่งเสริมให้เห็นความสัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน ส่งเสริมความเจริญทางปัญญาและความเจริญทางอารมณ์ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆในกิจกรรมทางศิลปะ



สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาล

สุนทีรยศาสตร์คือ ชีวิต ประกอบด้วย จิต และกาย สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญคือ มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจจึงนับว่ามีประโยชน์ เช่นส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุมีผล เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน ส่งเสริมความเจริญทางปัญญาและความเจริญทางอารมณ์ สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติทางการพยาบาลหรือการดำเนินงานใดๆอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยสิ่งของหรือช่องทางหรือวิธีการต่างๆเข้าด้วยกันอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับกาละเทศะและสภาวะซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการพยาบาล ที่ว่าการดูแลคนแบบองค์รวมต้องดูแลทั้งทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ ทางสังคมและปัญญา ด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกันจึงจะเรียกว่า

"ชีวิตที่สมบูรณ์"

3 ความคิดเห็น:

ช็อคโกแล็ต กล่าวว่า...

กำลังสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์อยู่พอดี เนื้อหาน่าสนใจละเอียดดี รูปภาพที่นำมาประกอบเหมาะสมสวยงามมาก

ธีรเดช จันทร์วิเมลือง กล่าวว่า...

ปรัชญาสาขานี้ น่าสนใจมากครับ ไม่เครียดเหมือนอภิปรัชญา แต่ถ้าบทความมีความคิดเห็นส่วนตัวมากๆ ก็จะดีขึ้นอีกครับ

ผศ.ดร.ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน กล่าวว่า...

ชอบรูปที่นำมาประกอบมาก สวยดี เนื้อหาครบถ้วนเข้าใจง่าย ขอตินิดเดียวคือดูเป็นวิชาการมากไปหน่อย ลูกเล่นมีไม่มาก แต่โดยรวมแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี มีประโยชน์ต่อผู้สนใจในเรื่องสุนทรียศาสตร์มาก พยายามต่อไปนะค่ะ