ดนตรี

ดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง เป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปิติพอใจแก่มนุษย์ได้ มีคนเคยกล่าวว่า ดนตรีเป็นภาษาสากล เพราะเป็นสื่อความรู้สึกของชนทุกชาติได้ ดังนั้น คนที่โชคดีมีประสาทรับฟังเป็นปกติ ก็สามารถหาความสุขจากการ

นอกจากนี้ วารสารสกุลไทย (27 ก.ค.2542 หน้า 23) คอลัมน์ “รอบทิศทางในต่างแดน” โดย เอ็กซ์บีเอ็น ตีพิมพ์เรื่อง “การรักษาโรคด้วยดนตรี หรือเสียงเพลง” กล่าวว่า เด็กชายวัย 4 ขวบ ชื่อ แมททีโอ อยู่ในนิวยอร์ก เป็นเด็กพิการทางสมอง เคลื่อนไหวไปมาไม่คล่องแคล่วเหมือนเด็กอื่น ๆ คิดช้า พูดน้อย ไม่ถูกใจอะไรสักอย่างแม่แต่เรื่องเล็กน้อย ก็หัวเสียอย่างขนานใหญ่ แต่เมื่อใดที่ แมททีโอ ได้พบกับ นายไคลฟ์ รอบบินส์ นักบำบัดรักษาด้วยเครื่องดนตรี ก็จะมีความสุขที่สุด เมื่อใช้ไม้ตีกลองอย่างสนุกสนาน แมททีโอ ใช้มือข้างหนึ่งจับขอบกลอง ประคองตัว เอามืออีกข้างหนึ่งตีกลอง ตามจังหวะเสียงเพลงที่ นายรอบบินส์ คิดขึ้นมาในขณะนั้น เล่นกลอง
ได้สักพักหนึ่งก็เคลื่อนตัวไปเล่นเปียโน ใช้นิ้วเล็ก ๆ หนึ่งหรือสองนิ้ว กดคีย์เปียโน อย่างสนุกสนาน สามารถเล่นตามจังหวะ ส่งเสียงหัวเราะด้วยความตื่นเต้น ขณะเดียวกัน ก็เรียนรู้การประคองตัวไม่ให้ล้มลง ใช้อวัยวะแขนขาช่วยการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น คนสูงอายุ วัย 79 ปี หายป่วยจากอาการเส้นโลหิตแตกในสมอง เขาฟังเพลงวอลซ์ ของเวียนนา เพื่อช่วยให้เขาเรียนวิธีเดินเหินอย่างคนธรรมดาขึ้นใหม่ สตรีผู้หนึ่งกำลังอยู่ในช่วงปวดท้องจะคลอดบุตร ได้ฟังเพลงพื้นเมืองของ ลีแอน ไรมส์ จากเครื่องสเตอริโอ เพื่อช่วยให้เธอผ่านวิกฤตอันเจ็บปวดรวดร้าว แม้แต่คนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ก็สามารถฟังเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี คลายความเครียดจากงานประจำวัน
การวิจัยเมื่อ พ.ศ.2539 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบโคโลราโดเสตท พยายามให้ผู้ป่วยเส้นโลหิตในสมองแตก จำนวน 10 คน ฟังดนตรีกระตุ้นวันละ 30 นาที เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มิได้เข้ารับการบำบัดด้วยดนตรี พวกเขามีความสามารถปรับปรุงการเดิน การเคลื่อนไหวได้มากกว่าเดิม นักวิจัยชาวสก๊อต พบว่า การให้ผู้ป่วยรักษาอาการเส้นโลหิตแตกในสมอง ตามสถาบันบำบัดฟังเพลงคลาสสิก ของโมสาร์ท หรือเมนเดลโซล ทุกวัน จะช่วยให้คนไข้มีอารมณ์แจ่มใสอย่างมาก การทดสอบทางจิตวิทยาแสดงว่า คนไข้ผู้รับการบำบัดด้วยดนตรีทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะมีอารมณ์ความรู้สึกซึมเศร้าน้อยลง

นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยา มีความสงสัยในเวลานี้ว่า “บางทีดนตรีจะสามารถช่วยสร้างและเสริมสร้างความเกี่ยวพันในหมู่เซลล์ประสาทในสมองด้านนอก”
จากที่กล่าวมานี้ เป็นคุณประโยชน์ของดนตรีที่มีต่อมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะกล่าวถึงดนตรีมีผลต่อสภาวะทางร่างกาย แต่ความเป็นจริงแล้ว ดนตรีเป็นเรื่องของ “จิต” แล้วส่งผลดีมาสู่ “กาย” ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไร ที่เรามักจะได้ยินว่า ดนตรีช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ทำให้คนอารมณ์ดี ไม่เครียด คลายปวด ฯลฯ เพราะดนตรีเป็นสื่อสุนทรียะ ที่ถ่ายทอดโดยใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อ
สุดท้ายของการบรรยายเรื่อง “สุนทรียศาสตร์ ทางดนตรี” จึงสรุปเป็นข้อคิดจากการศึกษามนเรื่องของความงามในเสียงดนตรี ผู้เสพ ควรเลือกว่าจะเสพเพียงแค่ “เป็นผู้เสพ” หรือจะเป็น “ผู้ได้รับประโยชน์จากการเสพ” เพราะดนตรีนั้นงามโดยใช้เสียงเป็นสื่อ แต่ขั้นตอนสำคัญในการถ่ายทอดคือ นักดนตรีถ่ายทอดโดยใช้ “จิต” ผู้ฟังรับสื่อโดยใช้ “จิต” เป็นตัวรับรู้รับสัมผัสอารมณ์ต่าง ๆ ผลจากการรับสัมผัสด้วยจิตนั้น เพลงที่สงบ ราบเรียบ จิตก็จะว่าง (สุญญตา) ทำให้จิตขณะนั้นปราศจาก “กิเลส” ผู้ฟังจึงรู้สึกสบายใจ คลายความวิตกกังวล คลายความเศร้า คลายความเจ็บปวด ผู้ฟังเกิดสมาธิ จึงเป็นผลให้สมอง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากผู้ฟังฟังเพลงที่ยั่วยุไปในทางกิเลส จังหวะรุกเร้ามาก จิตก็จะว่าวุ่น ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ ไม่เป็นผลดีต่อ “กาย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น