11/09/2550

การนำดนตรีมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวด



งานวิจัยของ บำเพ็ญจิต แสงชาติ วิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2528 เรื่อง “การนำดนตรีมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด” โดยอาศัยแนวทางหลัก



1. ดนตรีมีผลต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางลบหรือบวกก็ได้ตามชนิดของ ดนตรีที่บุคคลนั้นได้สัมผัส ตามนัยยะระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

2. ดนตรี ทำให้บุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ และเข้าสู่สังคมได้

3। ดนตรีสามารถช่วยให้มีการพัฒนาทางด้านชื่อเสียงเกียรติยศของปัจเจกบุคคล และบรรลุถึงความเชื่อมั่นและเข้าใจตนเอง

4. เสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองและประกอบด้วยลีลาจังหวะการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังชีวิต และสามารถปฏิบัติตามได้

5. ดนตรีทำให้เกิดสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ มีความละเอียดทางด้านอารมณ์และแนวความคิด

6. ดนตรีทำให้คลายความเครียด และลดความกังวลได้


ปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีผลดียิ่งทั้งโรคทางกาย และจิตเวช กรีกเป็นชาติแรกที่ใช้พิณดีดรักษาโรคซึมเศร้า ดนตรีบำบัดสามารถใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ดี มีประโยชน์ และมีคุณค่าสูงแต่ต้นทุนต่ำ ใช้ได้ทั้งลดอาการเจ็บปวดจาการคลอดจาการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียด กังวล ผู้ป่วยทางกาย ทางจิต คนพิการ ผู้มีปัญหาทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังใช้กับการพัฒนาการรับรู้ของเด็กทารก เยาวชนใช้พัฒนาการทำงานและสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ของตนได้


การนำดนตรีบำบัดไปใช้เป็นสื่อในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักดนตรีบำบัด (Music Therapist) จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรี และความผิดปกติทางด้านจิตใจ หรือโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตใจเป็นอย่างดี นักดนตรีบำบัดจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนักดนตรีบำบัดควรวิเคราะห์ และวินิจฉัยได้ว่า ผู้ป่วยรายใดควรจะใช้ดนตรีบำบัดในรูปแบบใด ควรใช้องค์ประกอบใดของดนตรีในการบำบัดรักษา (พีระชัย ลี้สมบูรณ์ผล 2541 : 5)


นอกจากนี้ ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์ (25437 : 18 – 19) ได้กล่าวถึงดนตรีเพื่อการบำบัดไว้ดังนี้ นักจิตวิทยา เพื่อว่าดนตรีช่วยพัฒนาการของมนุษย์ได้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และสามารถใช้ดนตรีแก้ไข ปรับปรุง ข้อบกพร่องบาวอย่างทั้งทางกาย และทางอารมณ์ได้ด้วย เช่น การพูดติดอ่าง นิสัยก้าวร้าว ตลอดจนอาการของเด็กประเภท Autistic Child
ผลจากความรู้และการทดลองด้านนี้ ทำให้ดนตรีก้าวเข้าไปมีบทบาททางการแพทย์และจิตเวช โดยใช้ช่วยบำบัดอาการป่วยไข้ทางจิต เสริมการบำบัดรักษาตามวิธีการทางการแพทย์บทบาทนี้ทำให้เกิดวิชา ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเปิดสอนเป็นวิชาเอก สำหรับนักดนตรี และนักศึกษา


ความจริงเรื่องการใช้ดนตรีบำบัดอาการป่วยไข้ มีมานานแล้ว ในพระคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า “ดาวิด” เคยดีดพิณบำบัดอาการหงุดหงิดของกษัตริย์ซาอูล
ผลงานจำนวนมากของนักมานุษยวิทยาก็ช่วยสนับสนุนข้อมูลข้างต้นด้วยว่า มนุษย์เชื่อในอิทธิพลของดนตรีมานานแล้ว เพราะ พิธีกรรมบำบัด (Healing Rituals) ของชนเผ่าต่าง ๆ ส่วนมากมีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ข้อที่แตกต่างกันนั้นคือ ดนตรีบำบัดแผนใหม่ เป็นวิทยาศาสตร์ในขณะที่พิธีกรรมบำบัดเป็นไสยศาสตร์ แต่ข้อที่เหมือนกันคือ ดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม หรือในคลินิก ก็ตาม จะต้องผ่านการพิจารณาเลือกเฟ้นแล้วว่าเหมาะสมกับผู้ป่วย
การที่พ่อมด หรือหมอผี ผู้ประกอบพิธีกรรมบำบัด เป็นทั้งหมอ และสื่อกลางสำหรับติดต่อกับเทพสถานภาพในสังคม คนเหล่านี้จึงสุงกว่าชาวบ้านทั่วไป ผลที่ติดตามมาคือดนตรีหรือเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมพลอยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย


ดนตรีชาวฮินดู เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ บันไดเสียงหรือ ราค (Raga) แต่ละชนิดจะมี กาละ และเทศะ กำกับไว้อย่างเคร่งครัด ละเมิดไม่ได้ เพราะดนตรีของเขาเป็นของที่ได้รับมาจากต้น


ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา

องค์ประกอบต่างๆ ของดนตรี ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น

1) จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ (Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย (Relax)
2) ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ

3) ความดัง (Volume/ Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบในการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และเกิดสมาธิ

4) ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล

5) การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง



















2 ความคิดเห็น:

ช็อคโกแล็ต กล่าวว่า...

ได้ดูได้ฟังแล้วสบายใจดี ผ่อนคลายมากได้สาระความรู้อย่างไม่เครียด เว็ปน่าอ่าน ภาพสวย เพลงเพราะ นายแน่มาก ขอชมเชยการพัฒนาที่มีมากขึ้นทุกๆๆวัน

ช็อคโกแล็ต กล่าวว่า...

เป็นเว็ปที่ได้ดูได้ฟังแล้วมีความสุข สบายใจ ได้รับรู้สาระไปพร้อมกับความเพลิดเพลิน เฝ้าดูการพัฒนาของเว็ปอยู่ พยายามต่อไปนะ ยอดเยี่ยมแล้วครับ